หน่วยงานและคณะ
เว็บไซต์สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับนาฏศิลป์ดุริยางคศิลป์คีตศิลป์และทัศนศิลป์ทั้งไทยและต่างประเทศ

หน่วยงานและคณะ

วิทยาลัยช่างศิลป 3 แห่ง
วิทยาลัยช่างศิลป
แผนที่
โทรศัพท์ : 02-326-4002-4
โทรสาร : 02-326-4002-4
วิทยาลัยช่างศิลป

วิทยาลัยช่างศิลปมีชื่อเดิมว่า “โรงเรียนศิลปศึกษา” ตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2495 โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2495 เป็นโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนวิชาศิลปะ ทั้งศิลปะไทย และศิลปะสากล

ในปี พ.ศ. 2500 กำหนดฐานะเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามีชื่อว่า “โรงเรียนศิลปศึกษาเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร” และย้ายมาสังกัดกองหัตถศิลปะ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ กระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ได้มีการเรียนการสอนอาคารเรียนร่วมกับ โรงเรียนนาฏศิลป โดยเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นกลาง (ป.ป.ช.) และต่อมาเปิดหลักสูตรประโยคมัธยมการช่าง (ป.ม.ช.) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2517 จนปีการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปศึกษาชั้นสูงเป็นรุ่นแรก

ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2519 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนช่างศิลปขึ้นเป็น “หลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2539 (ศ.ปวช.)” และหลักสูตรศิลปกรรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ศ.ปวส.)

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 วิทยาลัยช่างศิลป ย้ายต้นสังกัด จากสถาบันศิลปกรรมมาเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ต่อมาวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 วิทยาลัยช่างศิลปและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์แยกมาจากกรมศิลปากร และ พ.ศ. 2552 วิทยาลัยช่างศิลป์ปรับโครงสร้างการบริหารตามประกาศของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์โดยจัดให้มีการสรรหาผู้บริหารระดับผู้อำนวยการขึ้นปละผู้อำนวยการคนแรกคือนางสมบัติ กุลางกูร

วิทยาช่างศิลปสุพรรณบุรี
แผนที่
โทรศัพท์ : 035-555-370
โทรสาร : -
วิทยาช่างศิลปสุพรรณบุรี

วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรีตั้งอยู่บนเนื้อที่ ๓๘ ไร่ ๒ งาน ๕๕ ตารางวา ณ เลขที่ ๑๖ หมู่ที่ ๔ ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ๗๒๐๐๐ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี ได้ประกาศจัดตั้งตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๓๖โดยยกฐานะขึ้นจากศูนย์ฝึกอบรมช่างสิบหมู่ของกรมศิลปากรให้เป็นวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สังกัดกองศิลปศึกษา นับเป็นสถานศึกษาช่างศิลปส่วนภูมิภาคแห่งแรกของกรมศิลปากร จัดการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศึกษาชั้นกลาง ( ศก ) โดยในปีการศึกษา ๒๕๓๖ นี้ได้จัดการศึกษาขึ้นเป็นปีแรก มี นายกมล สุวุฒโฑ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรก

วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช
แผนที่
โทรศัพท์ : 075-394-355-7
โทรสาร : -
วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช

วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราชได้ก่อตั้งมาเป็นเวลา 12 ปี จากจุดกำเนิด เป็นสถาบันการศึกษาต่ำกว่าปริญญา ในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม มีเนื้อที่ 37 ไร่ สภาพของดินเดิมเป็นสวนยางพาราซึ่งมีรูปร่างยาวลึกเข้าไปจากถนนใหญ่ 650 เมตร พื้นที่ด้านหน้าติดถนนใหญ่ สูงและค่อยๆลาดต่ำลงไปจนสุดปลายที่ของสถานศึกษา

ในปี 2538 – 2539 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนรวมจำนวน 12 ห้องเรียน และได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2539 เริ่มเปิดรับสมัครนักเรียนนักศึกษาในหลักสูตรศิลปกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในปีการศึกษา 2540 เป็นปีแรก และในปีการสึกา 2542 ได้เปิดระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

วิทยาลัยนาฏศิลป 12 แห่ง
วิทยาลัยนาฏศิลป
แผนที่
โทรศัพท์ : 02-482-1313
โทรสาร : -
วิทยาลัยนาฏศิลป

วิทยาลัยนาฏศิลป เดิมมีชื่อว่า “ โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์” เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ. ศ.2477 นับเป็นสถาบันของชาติแห่งแรกที่ให้การศึกษา ทั้งวิชาสามัญและวิชาศิลป ขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้คือ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2478 ทางการมีความประสงค์ที่จะให้วิชาศิลปทางโขน-ละคร และดนตรี มารวมอยู่ในสังกัดเดียวกัน จึงได้โอนครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ กับศิลปินประจำราชสำนักของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งเครื่องดนตรี เครื่องโขน เครื่องละครของหลวงบางส่วนจากกระทรวงวัง ให้มาสังกัดกรมศิลปากร กรมศิลปากรจึงได้แก้ไขปรับปรุงการศึกษาของโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2478 ได้มีคำสั่งตั้งโรงเรียนศิลปากร สอนวิชาช่างปั้น ช่างเขียน และช่างรักขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร และให้โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ไปรวมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียน ศิลปากร เรียกชื่อเฉพาะแผนกนี้ว่า “โรงเรียนศิลปากรแผนกนาฏดุริยางค์” ให้การศึกษาวิชาศิลปทางดนตรี ปี่พาทย์ และละครแต่ยังไม่มีโขน ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2485 ได้ยุบกองโรงเรียนและให้ “ แผนกช่าง” ของโรงเรียนศิลปากรไปขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยศิลปากร และโอนกรมศิลปากรไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2485 กรมศิลปากรปรับปรุงกองดุริยางคศิลป์ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกองการสังคีต และโอนแผนกนาฏดุริยางค์จากโรงเรียนศิลปากรขึ้นกับกองการสังคีต เปลี่ยนเป็น “โรงเรียนสังคีตศิลป” ขึ้นอยู่กับแผนกนาฏศิลป แต่เนื่องจากอุปสรรคและสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมทั้งราชการได้คืนสถานที่ไปใช้ราชการอย่างอื่น ระหว่าง พ.ศ.2485-2487 การศึกษาของโรงเรียนสังคีตศิลปจึงหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง

วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์
แผนที่
โทรศัพท์ : 043-811317
โทรสาร : -
วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2524 โดยให้สังกัดกองศิลปศึกษา (ปัจจุบัน กอง ศิลปศึกษา ได้ ปรับ เปลี่ยน ชื่อ เป็น สถาบัน นาฏดุริยางคศิลป์) กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการให้เปิดทำการ สอนนักเรียนตั้งแต่ระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นจนถึงระดับนาฏศิลป์ชั้นสูงทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติระยะ 4-5 ในด้านการศึกษาที่จะต้องพัฒนาและ ขยายการศึกษาด้านนาฏศิลป์และ ดุริยางค์ไทย

วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี
แผนที่
โทรศัพท์ : 039-313-214
โทรสาร : -
วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี

การจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ในภาคตะวันออกเกิดขึ้นจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) และจากการที่ประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรี ซึ่งนำโดย นายบุญนาค สายสว่าง ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีในขณะนั้น ได้มีความห่วงใยเยาวชนของจังหวัดจันทบุรี และ จังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออก ที่อาจหลงใหลไปกับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งจะเป็นอันตราย ต่อสังคมไทยและเป็นส่วนหนึ่งในการทำลายเอกลักษณ์ความมั่น คงของขาติ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนในจังหวัดจันทบุรี ได้ร่วมแรงร่วมใจจัดหาที่ดินที่เหมาะสมสำหรับจัดตั้งสถานศึกษา คือ ที่ดินสาธารณประโยชน์ "ทุ่งพลงเหนือ" เนื้อที่ 50 ไร่ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี ได้รับอนุมัติ ให้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2526 โดยสังกัดกอง ศิลปศึกษา กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ และเปิดสอนในระดับชั้นประกาศนียบัตนาฏศิลป์ชั้นต้น ถึงประกาศนียบัตินาฏศิลป์ชั้นสูง

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
แผนที่
โทรศัพท์ : 053-271-596, 053-283-561-2
โทรสาร : 053-283-560
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ได้รับการอนุมัติจากกรมศิลปากรให้ก่อตั้งขึ้นในปีงบประมาณ 2514 โดยใช้ตึกอายุรกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว เปิดเรียนครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2514 มีนางสาวประนอม ทองสมบุญ เป็นผู้บริหารคนแรกจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน ปีพ.ศ. 2516 มีการปลูกสร้างอาคารเรียนถาวรบริเวณวัดสังกา(ร้าง) ถนนสุริยวงศ์ ซอย 5 ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และย้ายโรงเรียนนาฏศิลปเชียงใหม่มาอยู่ที่แห่งใหม่ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
แผนที่
โทรศัพท์ : 075-441-6154
โทรสาร : 075-441-6156
วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช

วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชเป็นองค์กรทางด้านการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และคีตศิลป์ ได้ดำเนินการขอจัดตั้งครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๘ โดยนายสุรินทร์ มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอจัดตั้งวิทยาลัยนาฎศิลปนครศรีธรรมราช ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยให้ความเห็นว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากในภาคใต้จังหวัดหนึ่งโดยเฉพาะทางด้านศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ไทย มีการติดต่อคมนาคมกับจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวกและเป็นจังหวัดที่ยังคงรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน สมควรที่จะรักษาศิลปวัฒนธรรมให้ยั่งยืนและควรขยายการศึกษาศิลปวัฒนธรรมของชาติด้านดุริยางค์ นาฎศิลปไทยและพื้นเมืองให้แพร่หลายมากขึ้น

นายแพทย์บุญสม มาร์ติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้ลงนามประกาศจัดตั้งวิทยาลัยนาฎศิลปนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ โดยนายเดโช สวนานนท์ อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นได้อนุมัติให้เปิด “วิทยาลัยนาฎศิลปนครศรีธรรมราช” ในปีการศึกษา ๒๕๒๑ เปิดทำการสอนวันแรกในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑ ซึ่งต้องอาศัยอาคารเรียนพระปริยัติธรรม และอาคารพิพิธภัณฑ์ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นอาคารเรียนชั่วคราวเนื่องจากอาคารสถานที่ของวิทยาลัยฯ อยู่ในระหว่างการก่อสร้างจนสามารถเข้าไปทำการเรียนการสอนในสถานที่ปัจจุบัน ณ บริเวณวัดโพธิ์ ( ร้าง ) หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓

วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา
แผนที่
โทรศัพท์ : 044-465-152
โทรสาร : -
วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา

กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2535 ในสมัย นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจหลักตามประกาศจัดตั้ง เพื่อต้องการขยายการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทางนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ในกรมศิลปากร ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น โดยจัดการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นต้น ถึงประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง กรมศิลปากร ได้แต่งตั้งให้ นางเพ็ญทิพย์ จันทุดม รองผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ มาปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2535 นอกจากหน้าที่ในการจัดการศึกษาแล้ว ยังมีหน้าที่ในการเผยแพร่ ส่งเสริม วิจัย และให้บริการทางวิชาการแก่สังคมอีกด้วย ในระหว่างการก่อสร้าง วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา ได้รับความอนุเคราะห์จาก ร.ต.สุวิทย์ แก้วเกตุ ศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา ได้อนุญาตให้ใช้ส านักงานศึกษาธิการจังหวัด เป็นสำนักงานชั่วคราว และในเดือนเมษายน 2535 นายประเสริฐ กาญจนวัฒนา กำนันตำบลโคกกรวด ได้ให้ความอนุเคราะห์ ปรับพื้นที่ดินบริเวณด้านหน้าวิทยาลัยฯ หลังจากนี้จะมีการดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนและอื่นๆ ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา เปิดทำการเรียนการสอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 ในระดับนาฏศิลปชั้นต้น ถึงประกาศนียบัตรินาฏศิลป์ชั้นสูง ต่อมาในปีพุทธศักราช 2544 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาหลักสูตร เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ส่วนการศึกษาในวิทยาลัยนาฏศิลปทุกแห่ง เป็นการจัดการศึกษาส าหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศ หรือความสามารถพิเศษ ด้านดนตรี และนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จึงปรับ
หลักสูตรให้สอดคล้องกัน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ วิชาชีพพื้นฐาน ในระดับช่วงชั้นที่ 3 และ 4 (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ)

วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง
แผนที่
โทรศัพท์ : 074-840-449
โทรสาร : -
วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง

วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่เลขที่ 150 หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พุทธศักราช 2527 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาทางนาฏศิลป์ ดุริยางค์ศิลป์ให้แพร่หลายทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์ของ
ชาติอีกด้วย

ในครั้งนั้นกรมศิลปากรได้แต่งตั้ง นายบุญเลิศ ทองสาลี ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง เป็นคนแรก โดยใช้อาคารเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พัทลุง เป็นสำนักงานและห้องเรียนชั่วคราว

วิทยาลัยนาฎศิลปร้อยเอ็ด
แผนที่
โทรศัพท์ : 043-511-403
โทรสาร : 043-511-403
วิทยาลัยนาฎศิลปร้อยเอ็ด

วิทยาลัยนาฎศิลปร้อยเอ็ดเป็นวิทยาลัยสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร แห่งที่ 3 ในจำนวนวิทยาลัยนาฏศิลปส่วนภูมิภาคทั้งหมด 9 แห่งซึ่งการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดได้เริ่มจากการสำรวจพื้นที่ที่จะ จัดตั้งวิทยาลัย กล่าวคือเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2522 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ พร้อมคณะได้ทำการสำรวจพื้นที่จะจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด เพื่อขยายการศึกษาด้าน

วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี
แผนที่
โทรศัพท์ : 036-413-644
โทรสาร : -
วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ได้รับการประกาศแต่งตั้งขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๔ ตามโครงการพัฒนาและจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์และดุริยางค์ไทย เริ่มปฏิบัติงานเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๒๕ โดยกรมศิลปากรได้มีคำสั่งแต่งตั้งนายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโดยได้รับความอนุเคราะห์อาคารพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ และที่ทำการหน่วยศิลปากรที่ ๑ ลพบุรี เป็นที่ทำการชั่วคราว แนะแนวการศึกษารับสมัครนักเรียนเพื่อเข้าเรียนในปีการศึกษา ๒๕๒๖ เปิดรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เข้าศึกษาระดับนาฏศิลป์ชั้นต้นปีที่ ๑ และผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ เข้าศึกษาระดับนาฏศิลป์ชั้นกลางปีที่ ๑ เริ่มทำการเรียนการสอนเมื่อ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ใช้อาคารเรียนของโรงเรียนช่างไม้เก่า (วัดราชา) ถนนพระยากำจัด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ต่อมาได้รับงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังที่ ๑ อาคารโรงอาหาร และบ้านพักคนงาน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน และดำเนินการเรียนการสอน ตั้งแต่วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๒๗ เป็นต้นมา

วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย
แผนที่
โทรศัพท์ : 055-611-820
โทรสาร : 055-613-508
วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย

เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๒๑ จังหวัดสุโขทัย เสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ให้กรมศิลปากรพิจารณา โดยเฉพาะสถานที่ก่อสร้างจังหวัดสุโขทัย ได้เสนอสถานที่บริเวณเมืองใหม่ ซึ่งเป็นสนามกีฬาเก่า อยู่ระหว่างโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมและโรงพยาบาลสุโขทัย เนื้อที่ประมาณ ๒๗ - ๓๐ ไร่ และกรมศิลปากรขอให้จังหวัดสุโขทัยปักหลักเขตและให้ได้มาซึ่งเอกสารหลักฐานที่ดิน เพื่อกรมศิลปากรจะได้ส่งสถาปนิกวางผังและก่อสร้างอาคารเรียนในปีงบประมาณ ๒๕๒๓ ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลปในส่วนภูมิภาค เพื่อขยายการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติทางนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น โดยอาศัยอำนาจ ตามความในข้อ ๒๓ แห่งประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๑๕ ประกอบด้วยวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ เปิดการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นต้น ถึงหลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง ตั้งแต่ปีการศึกษา๒๕๒๒ เป็นต้นมา

แรกเริ่มจัดการเรียนการสอนในปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ ได้อาศัยอาคารเรียนของวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย และปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ - ๒๕๒๔ อาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จนกระทั่งได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ดำเนินการก่อสร้างเสร็จจึได้ย้ายมาเรียนที่ปัจจุบัน ต่อมาได้มีการปฏิรูประบบการบริหาร ระบบราชการ ทำให้วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เปลี่ยนสังกัดหลายครั้ง เช่น สังกัดสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ

ปัจจุบันวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งอยู่ เลขที่ ๔ หมู่ ๕ ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย บนบริเวณพื้นที่ทั้งหมด ๔๑ - ๔๗ ไร่ มีหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาเฉพาะด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ เพื่อความเป็นเลิศ และดำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมของชาติ

วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
แผนที่
โทรศัพท์ : 035-535-247
โทรสาร : -
วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี

วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี เป็นสถานศึกษาในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีทั้งหมด 12 แห่งจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีต่อเนื่องจากหลักสูตรนาฏศิลป์ชั้นสูง สถานที่ตั้ง อยู่ในบริเวณศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัสุพรรณบุรี เลขที่ 119 หมู่ที่ 1 ถ.สุพรรณบุรี-ชัยนาท ต.สนามชัย อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี 72000

วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง
แผนที่
โทรศัพท์ : 035-611-548
โทรสาร : -
วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง

ประวัติความเป็นมา.ศ. 2521 กรมศิลปากรได้มีนโยบายขยายสถานศึกษาในสังกัดไปยังส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาองค์กรให้รับรองกับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะสนองความต้องการของการจัดการศึกษาในส่วนภูมิภาคให้ทั่วถึง หลังจากได้เปิดที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นแห่งแรก กรมศิลปากร

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา