ห้องสมุดวิทยาลัยนาฏศิลปชวนอ่านหนังสือเก่าหายาก เรื่อง ตำราฟ้อนรำ
ตำรานาฏศาสตร์ที่พวกพราหมณ์ชาวอินเดียนำเข้ามาสอนในประเทศไทยนั้น ไม่มีต้นฉบับหลงเหลืออยู่ หากมีก็มีน้อยฉบับ แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่า ตำรานาฏศาสตร์ที่พวกพราหมณ์ชาวอินเดียได้นำเข้ามานั้นพอแปลออกเป็นภาษาไทยบางส่วน ความรู้ที่ได้รับมาก็อาศัยเป็นเพียงความจำแล้วบอกเล่าสั่งสอนกันต่อ ๆ มา เพราะมีท่ารำของไทยและชื่อสำหรับเรียกท่าต่าง ๆ ทำนองเดียวกับตำรานาฏศาสตร์ของชาวอินเดีย ตำราที่แปลงเป็นภาษาไทยแล้วก็สูญหายไปเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นส่วนมาก ซึ่งตำราที่รวบรวมได้ไว้ในหอพระสมุด ฯ ที่คงเหลืออยู่ มีตำราท่ารำต่าง ๆ เขียนรูประบายสีปิดทอง ๑ เล่ม เหลืออยู่เฉพาะตอนต้นเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ตำราท่ารำเหมือนกับเล่มแรก แต่เขียนฝุ่นเป็นลายเส้น ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๒ หรือรัชกาลที่ ๓ มีภาพรำบริบูรณ์ถึง ๖๖ ท่า ได้มาจากพระราชวังบวร ท่ารำ และการเรียงลำดับท่าเหมือนเล่มแรก เข้าใจว่าจะเป็นสำเนาคัดจากเล่มสมัยรัชกาลที่ ๑ และทำให้ได้รู้ท่ารำต่าง ๆ ที่ขาดหายไปจากเล่มรัชกาลที่ ๑ นั้นมีท่าใดบ้าง โดยอาศัยหลักฐานที่ได้จากสมุดตำราทั้ง ๒ เล่ม
กรมพระราชวังบวร ฯ ได้โปรดเกล้าให้คัดสำเนาตำราฟ้อนรำ ไปรักษาไว้เป็นแบบฉบับสำหรับหัดโขนละคร และโปรดเกล้าให้พระวิทยประจง (จ่าง โชติจิตรกะ) ช่างในกรมศิลปากร กับขุนประสิทธิ์จิตรกรรม (อยู่ ทรงพันธุ์) ช่างเขียนในหอพระสมุดฯ ช่วยกันเขียนภาพใหม่ตามแบบท่ารำในตำราเดิมพิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้
อ่าน E-book “ตำราฟ้อนรำ”
>> https://anyflip.com/ylkkk/kwvg/
>> https://elibrary.bpi.ac.th/book/show-product/75150
————————————————————————
✨ ติดตามข่าวสารดี ๆ ได้ที่
Facebook : ห้องสมุด วิทยาลัยนาฏศิลป