ในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมในหลากหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ท าให้เกิดการ แข่งขันและการปรับตัวในทุก ๆ ด้าน ด้านการศึกษาเป็นอีกด้านที่จ าเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้ทันต่อ การเปลี่ยนแปลงของโลก เข้าสู่การเรียนการสอนในยุคเทคโนโลยี เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาก าลังเข้ามามีบทบาทและความส าคัญในการเรียนการสอน รวมทั้งนโยบายของ รัฐบาลส่งเสริมการใช้สื่อสมัยใหม่ และสถานการณ์การระบาดของ โรคระบาด Covid-19 ที่ก าลังเกิดขึ้น ในขณะนี้ ท าให้มีความจ าเป็นต้องมี การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งในและนอกห้องเรียน
การใช้วิธีการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิด ผู้สอนต้องทำการสำรวจผู้เรียนก่อนว่า ผู้เรียนมีความพร้อมในการสร้างกระบวนการคิดมากน้อยเพียงใด เพราะหากผู้เรียนไม่มีความ พร้อม เช่น ขาดการไตร่ตรอง ไม่ชอบการเรียนรู้ ขาดความสนใจใฝ่รู้ หรือไม่ตั้งใจในการทำงาน จะต้องใช้แนวทางการสอนคิดจากการคิดอย่างง่ายก่อนและค่อย ๆ เพิ่มระดับการคิดที่ซับซ้อน มากขึ้น เช่น กระตุ้นให้ตอบคำถาม แสดงความคิดเห็นจากประเด็นที่กำหนด
ในกระบวนการการจัดการความรู้ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยด าเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการการ จัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เรื่อง การสร้างนวัตกรรมเพื่อต่อยอด องค์ความรู้เรื่องเทคนิคการสอนร าเพลงช้า-เพลงเร็ว โดยคัดเลือกจากบุคลากรภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏ ศิลปสุโขทัยที่มีประสบการณ์ในการสอนไม่ต่ ากว่า 10 ปี และบุคลากรที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งมีหน้าที่ในการด าเนินงานให้เกิดกิจกรรมตามกระบวนการจัดการความรู้ โดยเริ่มตั้งแต่จัดประชุมเพื่อค้นหา ประเด็นความรู้ที่มีความส าคัญต่อหน่วยงานตามประเด็นยุทธศาสตร์และด าเนินการจัดท าแผนการจัดการ ความรู้ ก าหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ประสานงานกับฝ่ายเทคโนโลยีเพื่อจัดท านวัตกรรม ได้แก่ โปสเตอร์เรื่อง การแต่งกายในการฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย โปสเตอร์เรื่อง การเตรียมความพร้อมของร่างกายใน การฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์ไทย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง คู่มือการสอนร าเพลงช้า-เพลงเร็ว CAI เรื่อง นาฏยศัพท์เบื้องต้น วีดิทัศน์ประกอบคู่มือการสอนร าเพลงช้าเพลงเร็ว เผยแพร่ทางเว็บไซต์ facebook ของ วิทยาลัย และทางยูทูป เพื่อเป็นช่องทางให้บุคลากร นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจสามารถเข้าถึงองค์ ความรู้ได้สะดวก น านวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และการศึกษาต่อไป
วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ได้ดำเนินการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนโยบายของ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อจัดเก็บองค์ความรู้ การพากย์-เจรจา ในการแสดงโขน (2) เพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (3) เพื่อน าความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการเรียนการสอนและการแสดง ผลที่ได้รับคือ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ได้องค์ความรู้ในการพากย์-เจรจา ในการแสดงโขน และน าความรู้ที่ได้รับ มาใช้ในจัดการเรียนการสอน น าเผยแพร่ทาง youtube.com ส าหรับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ของสถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์ และผู้สนใจน าไปใช้ในการแสดง และน ามาใช้กับนักศึกษาวิชาโท การพากย์-เจรจา ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 ของวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ส่งผลให้นักศึกษามีทักษะในการพากย์-เจรจา มากยิ่งขึ้น
สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน เมษายน พ.ศ. 2565
-
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา